การ “แสดงวิสัยทัศน์” ภาพอนาคตปาตานี/ชายแดนใต้
โดย เจ๊ะมูดอ เจ๊ะเต๊ะ – ตัวแทนขบวนการปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี
ด้วยภาษามลายู ใน SCENARIO PATANI 2022 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565
ถอดความโดย : Abdulloh Wanahmad
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตากรุณาปราณี
ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน
สลามสันติและสลามซาตูปาตานี(ปาตานีหนึ่งเดียว) อัลฮัมดูลิลละฮ์(ขอบคุณพระเจ้า)ที่ในวันนี้หรือในค่ำคืนนี้ที่เราได้มีโอกาสพบปะกับพี่น้องชาวปาตานีของเรา ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ปาตานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องของเราที่มีความสนใจในประเด็นความคืบหน้าและความเคลื่อนไหวในทางการเมืองปัจจุบันของขบวนแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณไปยังผู้ดำเนินรายการและขอแสดงความชื่นชมไปยังฝ่ายผู้จัดงาน The Motive ข้าพเจ้าขอเข้าสู่การพูดคุยของเรา เมื่อเราได้ดูหัวข้อดังกล่าว อันเป็นหัวข้อที่สำคัญที่เราจะเสวนา นั่นคือ SCENARIO PATANI หรือภาพอนาคตปาตานี ในการอภิปราย พูดคุย หรือสนทนาในประเด็นภาพอนาคตปาตานี เราไม่อาจแยกออกจากกันได้ระหว่างปาตานีในอดีต-ปัจจุบันและอนาคต เพราะทั้งสามช่วงเวลานี้มันมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับภาพอนาคตของชาวปาตานี ที่จะกำหนดว่าเราจะเดินหน้ากันไปอย่างไร
ข้าพเจ้าจะขอเริ่มประเด็น SCENARIO PATANI อันหมายความถึงเราไม่อาจที่จะปฏิเสธในสิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับอนาคตของคนปาตานีได้ ดังนั้นชาวปาตานีที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับ SCENARIO PATANI นี้ จึงเป็นที่แน่นอนที่เราจะต้องเริ่มด้วยประวัติศาสตร์ของคนปาตานีในอดีต กล่าวสั้นๆ ก็คือ ประวัติศาสตร์ของชาวปาตานีในอดีตคือชนชาติมลายูปาตานีที่เคยมีอิสรภาพ(Merdeka) และมีอธิปไตยมาเป็นเวลานานกว่า 328 ปี นับตั้งแต่ปี 1457 – 1785 นั่นความเป็นมาของเราในอดีต ประวัติศาสตร์ของชนชาวมลายูปาตานีในอดีตอันเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าใคร่ปรารภในค่ำคืนนี้ นั่นก็คือใน 3 มิติ หรือ 3 เรื่องหลักในประวัติศาสตร์ที่สำคัญด้วยกันที่ชาวปาตานีของเราจำเป็นต้องรับรู้หรือต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ประเด็นประวัติศาสตร์ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอผ่านเวทีของเราในค่ำคืนนี้
ซึ่งเมื่อเอ่ยถึงคำว่า ‘ปาตานี’ เราจะเข้าใจได้อย่างทั่วกันว่าคือประเทศหนึ่งหรือชนชาติหนึ่งที่เคยมีอิสรภาพและอธิปไตยในอดีต ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ 1785 ซึ่งประวัติศาสตร์เหล่านี้มีความสำคัญที่เราจะกล่าวถึงภาพอนาคตปาตานีต่อไป
- ประการแรก ประวัติศาสตร์ 1785 อะไรคือต้นเหตุถึงเราได้ย้ำนักย้ำหนา นั่นก็เพราะว่าประวัติศาสตร์ของการเข้ามาของสยามในปาตานีด้วยยุทธวิธีแห่งสงครามหรือด้วยกำลังอาวุธและช่วงสมัยดังกล่าวนี้เองที่เป็นช่วงสมัยที่สยามเข้ามาปักหลักในแผ่นดินปาตานีอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือข้อเท็จจริงในทางการเมืองที่เราต่างรับทราบโดยทั่วกัน ในช่วงดังกล่าวนี้ที่บรรดานักประวัติศาสตร์ต่างกล่าวถึงก็คือ เราต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองให้กับสยามทุกๆ สามปี นั่นคือประการแรก
- ประการที่สองก็คือ ประวัติศาสตร์ 1902 ซึ่งสิ่งที่ข้าพเจาจะขอวิพากษ์ในที่นี้ก็เพื่อไม่ให้พวกเราขาดช่วงในสิ่งที่เราจะพูดถึงภาพอนาคตปาตานี นั่นคือประวัติศาสตร์ 1902 อันถือเป็นประวัติศาสตร์แห่งการล้มล้างอำนาจการปกครองของปาตานี นั่นคือการล้มล้างการปกครองทุกภาคส่วน นั่นก็คือการล้มล้างเพื่อที่จะก้าวไปสู่ช่วงที่สาม
- ประการที่สาม ประวัติศาสตร์ 1909 นั่นคือประวัติศาสตร์ 1909 อันหมายความถึงประวัติศาสตร์ที่ปาตานีถูกยึดครองโดยสยามอย่างเบ็ดเสร็จ และในวันที่ 10 มีนาคม 1909 ที่ชาวสยามเต็มไปด้วยใบหน้าอันหมายความถึงที่ชาวปาตานีได้เห็นหน้าค่าตาของชาวสยามดุจศัตรูหรือนักล่าอาณานิคม (ผู้ยึดครอง)
ณ จุดนี้ที่อนาคตของเราจะเริ่มต้น นั่นก็คือ เราในวันนี้คือชนชาติมลายูปาตานีที่ไร้รัฐ (ปราศจากประเทศ) ที่ถูกยึดครอง ดังนั้นเราจึงจะรู้จักตัวตนของเราว่าคือใคร? และเราเองก็ได้รับรู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นใคร? ตัวตนของเราในที่นี้ก็คือ ประชาชาติมลายูปาตานีที่ถูกยึดครองหลังจากปี 1909 ซึ่งรวมถึงกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในปาตานี ณ ห้วงเวลาดังกล่าว ทั้งพุทธ จีน และอื่นๆ ที่ต่างประสบกับชะตากรรมเดียวกันกับชาวปาตานี ดังนั้น ณ วันนี้ เราก็คือชนชาติมลายูหรือชาวมลายูปาตานีที่ถูกยึดครอง นี่คือตัวตนของเรา และพวกเขาคือใคร? พวกเขาก็คือสยามหรือรัฐบาลสยามหรือรัฐแห่งการล่าอาณานิคม การยึดครองระหว่างชาติพันธุ์ ชาติพันธุ์สยามต่อชาติพันธุ์มลายู นี่คือสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธ ดังนั้นจึงได้ก่อเกิดในสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึง นั่นก็คือ อนาคตของชาวปาตานีหรืออนาคตความเป็นอยู่ของชาวปาตานี จะได้รับเอกราชหรือไม่ได้รับเอกราช จะประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ การต่อสู้ของชาวปาตานีในภายภาคหน้าจะมืดมนหรือสดใสก็ขึ้นอยู่กับบนบ่าไหล่ของชาวมลายูปาตานีทั้งหลาย หรือในคำสำคัญก็คือ ขึ้นอยู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบของชาวมลายูปาตานีที่มีต่อตนเองของแต่ละปัจเจก ในความสามารถที่มีอยู่ของแต่ละคนที่พวกเขาจะต้องนำมาใช้ หากพวกเขาไม่เอาความสามารถที่มีออกมาใช้ นั่นหมายความว่าไม่อาจที่จะกล่าวโทษใครอื่น นั่นคือสิ่งที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอทั้งจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ต่อไปก็มาถึงหมวดของการต่อสู้หรือการลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลไทยของชาวมลายูปาตานี นับตั้งแต่ปี 1902 จนถึงปัจจุบันที่ไม่เคยหมดสิ้น ทั้งนี้สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากจะพูดถึงก็คือ
ประการแรก ก็คือเกี่ยวกับขบวนการบีอาร์เอ็นเป็นการเบื้องต้น พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย ความจริงเราจำเป็นที่จะต้องรับรู้เช่นเดียวกันหากไม่แล้ว กลัวว่าพวกเราอาจจะหลงประเด็นก็เป็นได้ ว่าแท้จริงแล้วบีอาร์เอ็นคืออะไร?
บีอาร์เอ็นก็คือ Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยอาวุธที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1960 ที่ต่อสู้เพื่อสิ่งใด? ที่ต่อสู้เพื่ออามานะฮ์(หน้าที่ความรับผิดชอบ)ตามที่เราจะคุ้นหูก็คือ Amanah Penderitaan Rakyat อันเป็นสิ่งที่เราต้องปกป้องดูแล ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องปกป้องดูแลในฐานะคนมลายูนั่นก็คืออัตลักษณ์แห่งความเป็นมลายูของเรา ซึ่งอัตลักษณ์มีหลายข้อด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ในฐานะชาวมลายูที่ถูกยึดครองก็คือ หากในอดีตในยุคที่เรามีอิสรภาพเหมือนแต่ก่อน เรามีสถาบันครอบครัว เรามีสถาบันการศึกษาและอีกหลายๆ สถาบัน เพื่อที่จะธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์เหล่านี้ แต่ในปัจจุบันเรามีเพียงหนึ่งสถาบันเท่านั้น และในฐานะชาวปาตานีที่ถูกยึดครองสิ่งที่เราจะต้องรักษาไว้ก็คือสถาบันครอบครัว ในฐานะที่เป็นโรงเรียนแห่งแรก ซึ่งหากเข้าสู่สถาบันที่สองอันเป็นสถาบันแห่งรัฐซึ่งเป็นโรงรียน ที่เราไม่มีสิทธิใดๆ ณ จุดนั้น การที่เราได้อยู่กับบ้านนี้เอง เราในฐานะที่เป็นคุณครูคนแรก เราต้องอบรมลูกๆ ของเราให้พูดภาษามลายูและเราต้องสื่อสารกับคนในครอบครัวของเราด้วยภาษามลายูและระหว่างคนมลายูด้วยกันและ กับเพื่อนบ้านเราต้องใช้ภาษามลายู หากเราละเลยสถาบันเหล่านี้ด้วยแล้ว นั่นหมายความว่าเรากลายเป็นคนที่ไม่รักษาอามานะฮ์ของเรา (Amanah Penderitaan Rakyat) ที่เราไม่ปกปักษ์รักษา และเมื่ออามานะฮ์เราไม่สามารถปกปักษ์รักษา จึงเป็นที่มาของ บีอาร์เอ็น ที่จะทำภารกิจปกป้อง สิ่งแรกคือสถาบันครอบครัวเพื่อที่ว่าสถาบันครอบครัวนั้นจักไม่หลงลืมและไม่ละทิ้งภาษาของตนโดยเจตนา นั่นก็คือ ภาษามลายู ทั้งการพูด สนทนากับลูกๆ ของพวกเขา กับเพื่อนพ้องด้วยภาษามลายู
ประการที่สอง ตัวตนของเราในฐานะที่เป็นมุสลิมจะต้องพูดความจริง ไม่พูดเท็จ ตรงเวลา เชื่อฟังคำสอนของพระเจ้าและเชื่อฟังท่านศาสดา ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องรักษาไว้ นี่คือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากนำเสนอ ซึ่ง Amanah Penderitaan Rakyat นี้เอง ที่บีอาร์เอ็นได้แบกรับ เพื่อต่อสู้เพื่อสถาบันครอบครัวและสถาบันต่างๆ ที่ล่มสลายเหลายนั้นจักได้หวนกลับสู่ครอบครัวปาตานีหรือประชาชาติปาตานีทั้งหลาย
ต่อมาซึ่งข้าพเจาคิดว่า หากต้องการที่จะคลี่คลายปัญหาหรือวาดภาพอนาคตปาตานีในภายภาคหน้า ควรจะต้องอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงอย่างไรหรือ? นั่นคือข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์ ประการที่สองข้อเท็จจริงในด้านการเมืองหรือสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน ซึ่งข้อเท็จจริงทางการเมือง เราต้องมองด้วยสายแห่งการตกผลึกของผู้ที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์แห่งความรู้สึกขมขื่นที่ถูกกดขี่ ว่าเราควรจะดำเนินการเช่นไรต่อไป
ประการแรกคือการคลี่คลายปัญหาที่มาจากต้นต่อของการยึดครองดังกล่าว ซึ่งประเด็นของเราในวันนี้คือประเด็นการล่าอาณานิคม (การยึดครอง) ไม่ใช่ประเด็นความยากจน ไม่ใช่ประเด็นเศรษฐกิจ ไม่ใช่ประเด็นใดๆ แต่มันคือประเด็นการยึดครองต่อชนชาติของเรา เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ เราจะต้องคลี่คลายปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง นี่คือข้อเท็จจริง ถึงตอนนี้เราจะคลี่คลายกับใคร? นั่นก็คือกับคู่กรณีของเรานั่นคือสยาม ดังนั้นเราจึงเข้าสู่โต๊ะเจรจา อันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อที่จะพูดคุยในทางการเมือง ก็เพื่อที่จะควบคุมอำนาจทางทหารในประเทศ(พื้นที่)ปาตานี ดังนั้นทุกครั้งที่เราได้มีการพูดคุยและทุกครั้งที่เราทำการลงมติใดๆ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งต้นเหตุของปัญหา เพื่อที่ว่าการคลี่คลายปัญหาในภายภาคหน้าจะได้รับการแก้ไขตามที่เราต่างคาดหวัง นั่นก็คือ การคลี่คลายปัญหาอย่างมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ และยั่งยืน นั่นคือสิ่งที่ได้กำหนดหมุดหมายเอาไว้เพื่อชาวปาตานีทั้งมวล
พ่อแม่พี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย เราต่างได้เห็นทุกอย่างที่อยู่เบื้องหน้าไปแล้ว นอกเหนือจากที่เราได้ทราบถึงหลักการของบีอาร์เอ็นแล้ว เราก็ต้องรับรู้ถึงวิธีการที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์(เป้าหมาย)ของเราเช่นไร ซึ่งวิสัยทัศน์ข้างหน้าตามที่เรามักจะได้ยินที่เราได้ข้อสรุปจากประชาชนก็คือ เราต้องการปกครองตนเอง ซึ่งเราย้อนไปดูประวัติศาสตร์ก่อนหน้า เราจะพูดคุยในประเด็นปัญหาที่เราต้องการพูดคุย
ประการแรก ประชาชนชาวปาตานีต้องการเอกราช ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธในข้อนี้ ทำไมประชาชนต้องการเอกราช? ก็เพราะได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในสิทธิมนุษยชน ภายหลังจากที่สิทธิที่มีอยู่ของแต่ละคน ทุกเชื้อชาติที่ควรได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ ไม่มีผู้ใดหรือชนกลุ่มใดที่จะกดขี่หรืออยู่เหนือกลุ่มชนของเราไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าสิ่งนี้คือสิ่งสำคัญ
ประการที่สอง หากสยามหรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ หากเขายังยืนกรานเช่นนี้คือในฐานะชนชาติที่กดขี่ต่อชนชาวปาตานีไปจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน ตรงนี้เราก็จะต้องเข้าสู่โต๊ะการเจรจากับรัฐบาลไทย เพื่อคลี่คลายปัญหา นั่นก็คือเพื่อปกครองตนเอง ซึ่งการปกครองตนเองนั้นไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม การที่เราเข้าสู่โต๊ะเจรจาเป็นการเข้าสู่วิถีทางการเมืองบนหลักการแห่ง “win win solution” ไม่ใช่เรื่องแพ้ชนะแต่อย่างใด ฉะนั้นการที่เราได้เข้าสู่โต๊ะเจรจาด้วย win win solution ดังกล่าว จึงมีบางคนออกมากล่าวโทษว่า เหตุใดบีอาร์เอ็น ถึงจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย อันที่จริงตามตัวบทกฎหมายที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งกฎหมายนั้นมี 2 อย่างด้วยกัน
อันแรก คือกฎหมายไทย อันที่สอง กฎหมายสากล ทั้งสองนี้ดำเนินควบคู่กันในชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ ดังนั้นภายใต้รัฐธรรมนูญ พูดอย่างตรงไปตรงมาก็คือ เราอยากจะให้มีรัฐสภาของเราเอง เราจะต้องมีศาลชารีอะฮ์ของเราเอง เราต้องมีผู้นำประเทศของเราเอง และทั้งหมดนี้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ของชาติ จะต้องผ่านการลงคะแนนตามรูปแบบประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยในที่นี้หมายถึง การเลือกตั้งจากประชาชน ดังนั้นจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งเป็นการก่อกำเนิดการปกครองของปาตานีตามครรลองประชาธิปไตย ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้เป็นหลักการเบื้องต้น
ประการที่สาม สิ่งที่เราจะดำเนินการหลังจากนี้ก็คือ การกำหนดชะตากรรมตนเอง เพราะการกำหนดชะตากรรมตนเองนี้อยู่ภายใต้กฏบัตรแห่งสหประชาชาติ ที่เราไม่อาจหลีกพ้น ซึ่งเป็นสิทธิอันพึงมีที่มีอยู่กับทุกคนทุกเชื้อชาติ ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ เราพยายามต่อรอง/เจรจาด้วยวิถีทางการเมือง เพื่อที่จะควบคุมอำนาจทางทหารในพื้นที่ ผ่านกระบวนการฟื้นฟูความเชื่อใจ ความเชื่อใจในที่นี้ก็คือ ทุกเรื่องราวที่ได้มีการเห็นชอบหรือที่ได้มีการลงมติบนโต๊ะเจรจา ควรที่จะดำเนินการที่ปาตานี นั่นก็คือ ต้องให้กับคนปาตานี เพราะการที่เราเข้าสู่โต๊ะเจรจานี้ เราจะเจรจาเพื่อผลประโยชน์ของชาวปาตานี ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของ บีอาร์เอ็นและไม่ใช่ผลประโยชน์ของผู้ใดนอกเสียจากผลประโยชน์ของชาวปาตานี
ข้าพเจ้าคิดว่าเรื่องราวเช่นนี้เราควรที่จะเน้นย้ำ และที่สำคัญอีกอย่างสิ่งที่ต้องกำชับ ณ ตรงนี้ก็คือว่าการปกครองตนเองในที่นี้หมายความว่า ควรจะมีรัฐสภาเป็นของตนเอง มีศาลชารีอะฮ์เป็นของตนอง มีผู้แทนที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชน จะเป็นระยะกี่ปีนั้นขึ้นอยู่กับมติจากรัฐสภา ซึ่งเป็นรัฐสภาของเรา ทำไมเราต้องการเช่นนี้? สิ่งที่เราต้องการเช่นนี้ เพื่อที่จะให้การเจรจาสามารถคลี่คลายด้วยศักดิ์ศรีที่อิงอยู่บนหลักการทางประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ 1785 ประวัติศาสตร์ 1902 ประวัติศาสตร์ 1909 ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้คือต้นเหตุที่เราต้องคลี่คลายเพื่อให้สามารถกลายเป็นชาติพันธุ์ที่มีเกียรติ์ มีศักดิ์ศรีอย่างยั่งยืน
แต่มีบางคนถามว่าการปกครองตนเองนั้นจะปกครองในรูปแบบใด มีอาณาเขตเท่าไหร่ พื้นที่ที่เราหมายถึงก็คือหากได้ปกครองตนเองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่(จังหวัด)ที่มีอยู่ภายใต้สนธิสัญญาแองโกล สยาม 1909 ระหว่างสยามกับอังกฤษ นั่นคือ 4 จังหวัดครึ่ง คือ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 5 อำเภอของสงขลา นั่นคืออาณาเขตของเมืองมลายูในสนธิสัญญา 1909 นั่นคือเขต/พื้นที่อาณาเขตที่จะปกครองในอนาคต หากไม่ถึงจุดนี้หมายความว่าเราไม่อาจยุติได้ และตอนนี้เรากำลังพูดคุยในประเด็นเหล่านี้ เพื่อที่จะปกครองตนเองในรูปแบบใด แต่เป็นที่รับรู้อย่างทั่วกันว่า 4 จังหวัดครึ่งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่มีมานานแล้วที่ถูกพูดถึง ซึ่ง 4 จังหวัดครึ่งเราเอามาจากไหน? นั่นก็คือเอามาจากสนธิสัญญาระหว่างสยามกับอังกฤษ
อันที่สอง เราต้องได้รับในสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั่นก็คือต้องมีรัฐสภาของตนเอง ต้องมีศาลชารีอะฮ์ของตนเอง ต้องมีรัฐมนตรีและผู้ว่าการของตัวเองที่มาจากการเลื่อกตั้งจากประชาชน
และอันที่สาม เราให้ความเคารพ ให้การคุ้มครองต่อประชาคมปาตานีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด เมื่อเข้าสู่ความเป็นประชาคมปาตานีแล้ว เราต้องให้ความคุ้มครองทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในด้านพิธีกรรมทางศาสนา รวมไปถึงความเชื่อของแต่ละบุคคล
อันที่สี่ สิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนนั่นหมายถึงครอบคลุมทุกเรื่องราวที่จะทำการปกครองข้างต้น ต่อไปเราเข้าสู่ประเด็นการเจรจาตามที่เราได้รับทราบไปแล้วนั้น ตอนนี้เราเข้าสู่ในรอบที่ 5 ซึ่งเราผ่านมาแล้ว 4 ครั้ง ซึ่งเราได้ใช้เวลาเป็นเวลาหลายปี ซึ่ง 2 ปีเต็มตามที่ทราบกันดีเป็นช่วงโรคระบาดโควิด จำเป็นที่เราจะต้องหยุดชะงัก เพราะโลกไม่สามารถขยับไปไหนได้เพราะต่างต้องดูแลตัวเอง เราเพิ่งสานต่อได้ไม่นาน ซึ่งเราได้บรรลุผลในบางประการ เพียงแต่ยังไม่สามารถปฏิบัติภายในประเทศได้ ซึ่งยังไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ อย่างที่ทราบกันดี ตามที่เราได้มีโอกาสสานเสวนาในเวทีต่างๆ ของชาวปาตานี อย่างเช่น ทางออกในทางการเมือง การจัดเวทีสาธารณะ การหยุดปฏิบัติการทางการทหาร ซึ่งเราอาจมีการพูดคุยกันต่อไป
สิ่งที่เราต่างเห็นพ้องร่วมกันกับฝ่ายไทย นั่นก็คือ เขาจะให้การรับรองสถานะ(สัญชาติ)ของเรา และจะพูดคุยถึงเรื่องการปกครองตนเอง จะเป็นในรูปแบบใดนั้น เรามอบหมายไปยังฝ่ายทำงานร่วมของทุกฝ่าย การหนุนเสริม เพื่อให้บรรลุในสิทธิร่วมกันของพวกเรา ข้าพเจ้าคิดว่าตรงนี้มีความสำคัญ และต่อมาก็เป็นเรื่องวัฒนธรรม ข้าพเจ้าเกริ่นอย่างคร่าวๆ ในที่นี้ นั่นก็คือ วัฒนธรรมนั้นเป็นการรวมกันของอารยะธรรมของทุกอารยะธรรมของบรรพบุรุษของเราในอดีตเป็นหนึ่งของวัฒนธรรม และวัฒนธรรมที่เราดำเนินอยู่ ณ วันนี้ คือมาจากคุณค่าที่ไม่เป็นที่ขัดกับหลักการศาสนา (ของทุกศาสนาที่มีในพื้นที่) และคุณค่าเหล่านี้คือสิ่งที่เรายึดถือปฏิบัติ นั่นก็คือไม่เพียงแต่ประเด็นประเพณีเหล่านี้ ไม่ใช่แค่เครื่องแต่งกาย ไม่เพียงแต่เรื่องอาหารการกินตลอดจนพฤติกรรม หลักปฏิบัติ ความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เราจะต้องธำรงไว้หากว่าเราได้ปกครองตนเองในปาตานี
และในด้านเศรษฐกิจ เป็นที่ทราบกันดีว่ารวมถึงการหารือก่อนหน้านี้ก็เคยมีการพูดคุยก็คือว่าปาตานีเป็นประเทศที่มีความร่ำรวย มีทุกอย่าง มีทั้งภูเขา ทั้งเรือกสวน มีที่นา มีทะเล มีแม่น้ำ ทรัพยากรที่มีอยู่ในดินเราก็มี ทรัพยากรในท้องทะเลเราก็มี และทรัพยากรที่มีอยู่ตามเทือกเขาเราก็มีความมั่งคั่ง ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวย ข้าพเจ้าคิดว่าทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้ ในวันข้างหน้าเราจัดการผลประโยชน์เหล่านี้เป็นต้นทุน รวมถึงภาษีต่างๆ ภาษีอากรเราจะนำมาเป็นต้นทุนของงบประมาณ การใช้จ่ายในการปกครองตนเองของรัฐบาลปาตานีในอนาคต ในการกำหนดรูปแบบด้านเศรษฐกิจนั้น คงจะต้องดำเนินการผ่านกลไกรัฐสภา อันเป็นสิ่งที่เราพึงมีในเรื่องเหล่านี้
วีดีโอฉบับเต็ม