การศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ในปาตานีเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีอายุประมาณ 106 ปี จากบันทึกในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ.2461) ปรากฏว่ามีนักเดินทางมาจากยะโฮร์(มาลายา) ได้เข้ามายังปัตตานี เขาได้จดบันทึก สิ่งที่เขาเห็นที่ปัตตานี บริเวณบานา สุไหงปาเเน อำเภอเมืองในปัจจุบัน เขาตกใจเพราะว่าเขายังไม่เคยเห็น Seluruh Nusantara (ในภูมิภาคแหลมมลายู) ที่มีการเรียนการสอนให้แก่เด็ก ๆ
.
สมัยก่อนผู้เรียนจะเป็นรุ่นใหญ่ บรรลุนิติภาวะ เด็ก ๆ ไม่ค่อยเรียน แค่เรียนกุรอาน แต่สิ่งที่เขาเห็นที่นั่น เขาได้บันทึกเป็นภาษามลายูว่า “Yang belajar duduk atas bangku ada maeja yang mengajar berdiri guna papan” [يڠ بلاجر دودوق اتس بڠكو اد ميجا يڠ مڠاجر برديري ڬونا ڤاڤن] แปลว่า ‘ผู้เรียนนั่งบนม้านั่งมีโต๊ะ ผู้สอนยืนใช้กระดานดำ’
.
นั่นคือสิ่งที่เขาเขียน เด็ก ๆ นั่งเรียนบนโต๊ะ มีโต๊ะและเก้าอี้ ผู้สอนยืนสอน ซึ่งหาดูได้ยากที่ครูผู้สอนศาสนาจะยืน(ระบบการเรียนการสอนศาสนาอิสลามแบบโบราณนั้น ทั้งผู้สอนและผู้เรียนนั่งกับพื้น) การสอนในรูปแบบดังกล่าวนี้ผู้คนเรียกว่า sekolah (โรงเรียน) มีการเรียนการสอน 5 วัน คือการเรียนการสอนที่เป็นระบบ ยังไม่มีแบบปอเนาะ แต่เป็นระบบชั้น ที่นี่เรียกว่า sekolah(โรงเรียน) ไม่ใช่ภาษาอาหรับ
.
คำว่า sekolah(โรงเรียน)รากศัพท์มาจากภาษาตุรกี sekola เเต่ภาษาอังกฤษเรียก school จนกระทั่งปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ.2492) รัฐบาลเพิ่งมาเริ่มสร้างโรงเรียนในภูมิภาค แต่โรงเรียนในเมืองนั้นมีแล้วในปัตตานี (คือโรงเรียนเบญจมราชูทิศ) แต่ยังไม่เรียกว่าโรงเรียนแบบปัจจุบันเหมือนโรงเรียนมัธยม ซึ่งรัฐบาลได้สร้างในปี ค.ศ. 1917 ก่อนตาดีกา 1 ปี
.
เมื่อรัฐบาลได้เข้ามาสร้างโรงเรียนประถมในชุมชนและภูมิภาค รัฐบาลก็ได้ทำโรงเรียนขนาดใหญ่ตั้งแต่ยุค1949 จึงทำให้คนปัตตานีเรียกว่าโรงเรียนไทย และที่เรียนอยู่นั้นเรียกว่า Sekolah Melayu (โรงเรียนมลายู) จึงเกิดการเปรียบเทียบ ระหว่าง Sekolah Melayu (โรงเรียนมลายู) กับที่เพิ่งมาสร้างคือโรงเรียนไทย
.
เมื่อมีการเปรียบเทียบ จึงได้เกิดการกระทบกระทั่ง คือเมื่อรัฐบาลมาสร้างโรงเรียนประถมแต่ก่อนเรียกโรงเรียนไทย (เรียกว่าโรงเรียนประถมภายหลัง) การสร้างโรงเรียนประถมแต่ไม่ประสบความสำเร็จประชาชนไม่นิยม สุดท้ายเมื่อไม่นิยมรัฐก็เลยต้องสั่งห้ามโรงเรียนมลายู (สั่งปิด) การมีคำสั่งปิดทำให้เหตุการณ์เริ่มรุนแรงช่วงจอมพลแปลก (ป.) ประกอบเหตุการณ์ช่วงนั้นก็รุนแรงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นทั่วไปตามจุดพื้นที่ที่เข้มข้น
.
และต่อมาเริ่มมีการจับครูผู้สอน ลักพาตัวครู จนทำให้รัฐบาลมองว่าจะทำให้เป็นปัญหามากขึ้น จึงมีคำสั่งให้เปิดโรงเรียนมลายูใหม่ เพราะกระทรวงมหาดไทยประกาศระเบียบ ข้อบังคับเรื่องการเรียนการศึกษา ซึ่งเมื่อเปิดใหม่มีเงื่อนไขคือ 1 ห้ามเรียกโรงเรียนมลายู (ช่วงนั้นคำว่ามลายูเป็นคำต้องห้ามด้วย) ห้ามเรียกว่า Sekolah Melayu (โรงเรียนมลายู)
.
ในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) มีการใช้ชื่อ TADIKA เพราะเนื่องจากการที่ถูกสั่งห้ามเรียกโรงเรียนมลายู จึงบัญญัติคำใหม่ขึ้นมา คำใหม่นั้นก็คือ taman didikkan kanak-kanak ใช้ชื่อย่อข้างหน้าเป็น TADIKA ชื่อนี้มาจากการ Copy โรงเรียนของ British ที่ทำให้คนมลายูที่ Pulau Pinang (ปีนัง)เรียน
.
หลังจากนั้นจึงต้องทำการเรียนการสอนในวันที่ไม่ใช่วันปกติของโรงเรียนไทย คือโรงเรียนไทยเรียนจันทร์ถึงศุกร์ ทำให้โรงเรียนTADIKA เหลือแค่เสาร์และอาทิตย์ ส่วนหลักสูตรวิชาอื่น ๆ เช่น วิชา Social ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิชาที่ยังเรียนทางโลกก็ถูกตัดออกไปสำหรับ 2 วันมีเวลาเรียนเพียงแค่วิชาศาสนาและพื้นฐานภาษามลายู ตาดีกา โรงเรียนมลายูแล้วแต่จะเรียกเพราะติดมาจากเก่า
.
ตอนนี้คนมลายูก็ยังเรียกโรงเรียนมลายู(Sekolah Melayu) ในจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานี ปัจจุบันมีเขียนเกือบทุกที่บนป้าย แต่พอเป็นภาษาไทยก็จะเขียน TADIKA เพราะเป็นชื่อทางการ
.
เอกสารของ pustaka (‘PUSTAKA’ เป็นเครือข่ายโรงเรียนตาดีกา จังหวัดปัตตานี) บันทึกในปีค.ศ. 1970 (พ.ศ.2513) ระบุว่า “Terdapat bahawa semua kampong melayu ada sekolah” ทุกๆหมู่บ้านของคนมลายูต้องมีโรงเรียนทุกแห่ง ซึ่งมาถึงปัจจุบันก็เกือบ 50 ปี ทุก ๆ หมู่บ้านก็มีโรงเรียนตาดีกา จนทำให้เกิดปัญหาปัญหาคือ ปัญหาขาดแคลนบุคลากร
.
ทำให้ในปีค.ศ. 1977 (พ.ศ.2520) มีการรวมตัวของสถาบันการศึกษาปอเนาะเพื่อเข้ามาดูแลเรื่องการศึกษาของอิสลาม คือดูแลตาดีกาโดยการส่งนักเรียนชั้น 10 [*] ไปเป็นครูอาสา มีทั้งหมด 6 สถาบันที่เข้ามาจัดการตาดีกา ซึ่งแบ่งพื้นที่เขตในการรับผิดชอบกันตามพื้นที่ใกล้เคียงของตัวเอง คือ
1. ปอเนาะพ่อมิ่ง (โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี)
2. โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ อ.เมือง จ.ปัตตานี
3. ปอเนาะปือดอ (โรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส)
4. ปอเนาะในอำเภอเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
5. ปอเนาะไชยา บ้านบางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส
6. ปอเนาะบาลอ จ.ยะลา
.
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนตาดีกาในความเข้าใจของรัฐ คือศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด เป็นแหล่งเรียนรู้อิสลามและเป็น สถาบันการศึกษาสำหรับเด็กมุสลิมที่ถือกำเนิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อม ๆ กับการมีอยู่ของมัสยิดในชุมชนนั้น ๆ โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันรับผิดชอบ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้บุตรหลานในชุมชน มีอิหม่ามประจำมัสยิดเป็นผู้ควบคุมดูแล ผู้สอนและผู้เรียนเป็นบุตรหลานของชุมชน สภาพการดำเนินการเป็นไปตามสภาพความพร้อมของชุมชน
.
กระนั้นในปี พ.ศ.2530 ก็ได้มีอาสาสมัครในจังหวัดปัตตานีได้ก่อตั้งชมรมตาดีกามีชื่อว่า “PUSTAKA” ส่วนในจังหวัดนราธิวาสได้ก่อตั้งชมรมตาดีกามีชื่อว่า “PUSAKA” สำหรับในจังหวัด ยะลาได้ก่อตั้งชมรมตาดีกาชื่อว่า “PERTIWI” และในปี พ.ศ.2533 ได้มีการจัดตั้ง ชมรมตาดีกาในระดับสามจังหวัดขึ้น โดยมีชื่อเรียกว่า “PERKASA” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความเป็นเอกภาพทางวิชาการ และต่อมาอีกสองจังหวัด คือ สงขลา = PUTRA และ สตูล = PANTAS ก็ได้เข้ามาร่วมเป็นห้าจังหวัด และชื่อดังกล่าวเป็นที่รู้จักในการจัดการศึกษาตาดีกานับแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน และปัจจุบันนี้ยังคงใช้ชื่อเรียกดังกล่าวเรื่อยมา
.
อ้างอิง
[1] สัมภาษณ์. ฮาซัน ยามาดีบุ :ประธาน Bunga Raya Group Patani.
[2] 101 ปี โรงเรียนตาดีกา : ความเป็นมาของ TADIKA, เผยแพร่ Patani NOTES. เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2019.
[*] ระบบการเรียนการสอนของสถาบันปอเนาะที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีการแบ่งชั้นสามระดับ คือ ชั้น 1-3 เรียกว่าอิบตีดาอี (เทียบเท่า มัธยมต้น) ,ชั้น 4-7 เรียกว่ามุตาวาซีต (เทียบเท่า มัธยมปลาย) ,ชั้น 8-10 เรียกว่าซานาวี (เทียบเท่าอนุปริญญา)