ปาตานีในอดีต: การเลือกตั้งหลังการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

The Motive ชวนผู้อ่านมาทบทวนเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในสี่จังหวัดภาคใต้(ปาตานี) ในปีพ.ศ. 2476-2481 ซึ่งผลการเลือกตั้งหลังการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้เพียง 1 ปี ในสมัยนั้นปรากฏว่าผู้ชนะสามฅนเป็นไทยพุทธ มลายูมุสลิมที่ชนะมีเพียงคนเดียว คือ ตุ๋ย บิน อับดุลลาห์ จากสตูล

ปีพ.ศ. 2476
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ แทน วิเศษสมบัติ
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สง่า สายศิลป์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ฤทธิ์ รัตนศรีสุข
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ตุ๋ย บิน อับดุลลาห์

ปีพ.ศ. 2480
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ตนกูมุกดา อับดุลบุตร
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ แวเลาะ เบญอาบัชร์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เต็งกูอับดุล ยะลา
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สงวน ณ นคร

ปีพ.ศ. 2481
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ตนกูมุกดา อับดุลบุตร
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ แวและ เบญอาบัชร์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เต็งกูอับดุล ยะลา
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สงวน ณ นคร

.
ต่อมาในปีพ.ศ. 2489-2500 โดยช่วงยุคสมัยนี้เป็นช่วงเวลาของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้ผลักดันนโยบายดูดกลืนทางวัฒนธรรม (รัฐนิยม เป็นชุดคำสั่งจำนวน 12 ฉบับที่รัฐบาลจอมพล ป. ประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2482 ถึง 2485 ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชุดคำสั่งเหล่านี้มีเป้าหมายสร้างรูปแบบและวัฒนธรรมไทยให้ “ศิวิไลซ์”) ผลการเลือกตั้งหลังช่วงสมัยนั้น (2489-2500) ปรากฏว่า จังหวัดที่ฅนส่วนใหญ่เป็นมลายูมุสลิมผู้มีสิทธิลงคะแนนตัดสินใจไม่ไปลงใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ดังนั้นจึงมีผู้แทนเป็นชาวไทยพุทธเกือบทั้งหมด ยกเว้นสตูล

ปีพ.ศ. 2489
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจริญ สืบแสง
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ประสาท ไชยะโท
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ วงศ์ ไชยสุวรรณ , สุริยน ไรยา
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

ปีพ.ศ. 2491
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจริญ สืบแสง
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สาลี กูลณรงค์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สมรรถ เอี่ยมวิโรจน์
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

ปีพ.ศ. 2495
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ตนกูมุกดา อับดุลบุตร
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ประสาท ไชยะโท
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เอิบ อิสสระ
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

ปีพ.ศ. 2500 (เลือกตั้งครั้งที่ 1)
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ อามีน โต๊ะมีนา , บันเทิง อับดุลบุตร
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ประสาท ไชยะโท
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สุริยน ไรยา , โสภณ เอี่ยมอิทธิพล
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

ปีพ.ศ. 2500 (เลือกตั้งครั้งที่ 2)
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ อามีน โต๊ะมีนา , เจริญ สืบแสง
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ อดุล ภูมิณรงค์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ โสภณ เอี่ยมอิทธิพล , เอิบ อิสสระ
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

.
หากทว่าการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2501 ส่งผลให้โอกาสการมีส่วนร่วมผ่านวิถีทางประชาธิปไตยปิดฉากต่อไปอีกยาวนาน และแล้วจนกระทั่ง ในยุคของจอมพลถนอม กิตติขจร ก็ยอมให้มีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2512 สำหรับผลของการเลือกตั้งในสี่จังหวัดภาคใต้(ปาตานี) ในปีพ.ศ. 2512-2519 ในสมัยนั้นปรากฏว่า

ปีพ.ศ. 2512
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ แวและ เบญอาบัชร์ , บันเทิง อับดุลบุตร
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ อดุล ภูมิณรงค์
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ถาวรณ์ ไชยสุวรรณ , เรวัต ราชมุกดา
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ชูสิน โคนันทน์

ปีพ.ศ. 2518
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร , กำธร ลาชโรจน์ , สุดิน ภูยุทธานนท์
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ประสาท ไชยะโท
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สิดดิก สารีฟ , ถาวรณ์ ไชยสุวรรณ
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ ชูสิน โคนันทน์

ปีพ.ศ. 2519
ปัตตานี ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ เด่น โต๊ะมีนา , สุดิน ภูยุทธานนท์ , สุรพงษ์ ราชมุกดา
ยะลา ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ อุสมาน อุเซ็ง
นราธิวาส ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ วชิระ มะโรหบุตร , สิดดิก สารีฟ
สตูล ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ สมศักดิ์ เส็นดาโอ๊ะ

.
ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐสภาชุดนี้มีอายุสั้นมาก เพราะสิ้นสุดในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เมื่อกองกำลังฝ่ายขวาบุกโจมตีนักศึกษาที่กำลังชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหารที่ดึงประเทศไทยกลับสู่ระบอบอำนาจนิยมและการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างโหดเหี้ยม

.
อ้างอิงแหล่งข้อมูล:
[1] เจมส์ โอกีย์, การเลือกตั้งและบูรณาการทางการเมืองในภาคใต้ของไทย. (ในรวมเล่ม ไทยใต้ มลายูเหนือ)
.
#Article
#TheMotive
#ปาตานีในอดีต
#PATANI