ปาตานีในสภาวะวิกฤติการเมืองไทย ตอนที่ 1 : ปาตานีไม่มีพื้นที่ทางการเมืองที่ปลอดภัย

ปาตานีในสภาวะวิกฤติการเมืองไทย ตอนที่ 1 : ปาตานีไม่มีพื้นที่ทางการเมืองที่ปลอดภัย


เผยข้อเสนอ 3 ข้อ เป็นข้อเสนอที่คิดบนฐานที่ทุกฅนทั้งประเทศได้รับผลกระทบกันหมด ย้ำปาตานีถูกปกครองโดยทหารมานาน ฅนปาตานีจึงไม่เคยมีพื้นที่ทางการเมืองที่ปลอดภัย ยันเสรีภาพที่ไม่ใช่การคุยเพื่อหาวิธีการจัดการให้สิ้นซาก แต่เป็นการอำนวยพื้นที่อย่างไรให้อยู่ในกรอบที่กระทำได้


เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี ได้มีการจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลม ภายใต้ห้วข้อ “ปาตานีในสภาวะวิกฤติการเมืองไทย” เนื่องในวันประชาธิปไตยสากล ที่ห้องประชุมศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มอ.ปัตตานี โดยมีวิทยากรและผู้เข้าร่วมจากนักวิชาการ นักประชาสัมคม และนักศึกษาเข้าร่วมงาน หนึ่งในนั้น คือ นายซูกริฟฟี ลาเตะ ประธาน เปอร์มัส


ซึ่งนายซูกริฟฟี เปิดเผยในงานเสวนาว่า “สิ่งที่พวกผมพยายามจะเคลื่อนไหวมาตลอดต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้เป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายด้วยซ้ำสำหรับพวกเราในระดับหนึ่งที่จะนำไปสู่สันติภาพ ดังนั้นความพยายามของเราหลายครั้งที่จะไปร่วมกับเพื่อนที่กรุงเทพฯ เพื่อเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตย


ก่อนหน้านี้เรามีโอกาสคุยกับเพื่อนที่กรุงเทพฯ หลายครั้งว่าจะเอาอย่างไรกับการต่อสู้ในช่วงแรกต่อการมีม็อบ แล้วเรามีโอกาสได้คุยกันจนนำไปสู่การมีข้อเสนอ 3 ข้อ เช่น การยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน รวมไปถึงการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ 2 จุดยืนใหม่ ไม่เอา กับ 1 ความฝัน


ที่จริง 3 ข้อแรกที่พยายามถกเถียงกันมีหลายฅนที่คิดว่าเป็นข้อเสนอเพื่อดักทางฝ่ายความมั่นคงที่จะคุกคามนักศึกษาในสภาวะที่มันมีม็อบหรือเปล่า ปรากฎว่ามันไม่ใช่


ข้อเสนอแรกที่มันเกิดขึ้น คือ เราพยายามพูดคุยกันเป็นข้อเสนอที่ทุกฅนในประเทศนี้ได้รับผลกระทบกันหมด ตั้งแต่มีการรัฐประหาร ซึ่งเรื่องนี้มีก็มีโอกาสคุยหลายๆ ครั้ง ในพื้นที่เองตั้งแต่มีความขัดแย้งมาจนถึงมีการรัฐประหารปี 57 ซึ่งปาตานี/ชายแดนใต้ได้รับผลกระทบจากการคุกคามมาตลอด จนถึงตอนนี้ก็เช่นกัน


เพื่อนเราหลายฅนถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ เพื่อนเราหลายฅนถูกเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมบ้าน ในขณะที่พื้นที่ทางการเมืองเริ่มสุกงอมมากขึ้น มีฅนพยายามแสดงความคิดเห็นทางการเมืองมากขึ้น อย่างนี้มันเป็นตัวพิสูจน์ว่า ข้อเสนอข้อแรกมันหมายถึงการพูดถึงเพื่อแก้ปัญหาจริงๆ ไม่ใช่เพื่อดักฝ่ายความมั่นคง หรือ ดักเจ้าหน้าที่ในการที่จะมาเล่นงานพวกเรา ถ้าความเข้าใจแบบนั้นมันไม่ใช่


ส่วนการพูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สำหรับพวกผม มองว่าแน่นอนเป้าหมายที่ปาตานี จะเป็นอย่างไรก็ตามในอนาคต การกำหนดชะตากรรมตนเองจะไปสู่อะไรก็ตามในอนาคต แต่ฅนปาตานี เสียเปรียบกว่าฅนที่อื่น เพราะฅนปาตานีไม่เคยมีพื้นที่ทางการเมืองที่ปลอดภัยกว่าฅนกรุงเทพฯ ฅนปาตานีไม่มีพื้นที่ทางการเมืองที่สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือ เติบโตทางความคิดได้มากกว่าฅนกรุงเทพฯ นั้นคือสิ่งที่ผมสัมผัส


การปกครองโดยทหารในพื้นที่ส่งผลให้ฅนปาตานีเสียเปรียบในหลายๆ อย่าง ดังนั้น หากพูดถึงการร่างรัฐธรมนูญใหม่ เรามีความปราถนาอย่างสูงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเปลี่ยนอย่างไรได้บ้างให้ฅนปาตานีได้ประโยชน์


มาตราที่คิดว่าสำคัญจะทำให้การมีเสรีภาพต่อฅน มาตรานั้นก็ต้องพูดถึง มาตราไหนที่ประชาชนรู้สึกว่ามันเป็นฉันทามติร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงก็สามารถทำได้ ก็เหมือนหลักวิชารัฐธรรมนูญที่เราเรียนปกติ คือ รัฐธรรมนูญมีที่มาจากเจตนารมณ์ของประชาชน เมื่อประชาชนหาฉันทามติร่วมกันว่า จะมีแบบแผนในการปกครองอย่างไร เขียนอะไรลงไปบ้าง เมื่อนั้นประชาชนก็มีสิทธิที่จะแก้ทุกมาตราด้วยซ้ำ


ดังนั้น เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว การมีเสรีภาพจะทำให้วิธีการแก้ปัญหาที่ปาตานีจะเปลี่ยนไป ฅนปาตานีจับปืนสู้กับรัฐเนื่องจากเขาไม่มีพื้นที่ทางการเมือง ดังนั้น พื้นที่ทางการเมืองถือเป็นพื้นที่ที่ฅนแบบนี้จะเปลี่ยนวิธีการต่อสู้เพื่อให้ฅนปาตานีได้ประโยชน์


ผมพยายามจะพูดว่า เราจะสร้างการต่อสู้ด้วยสันติวิธีอย่างไรโดยไม่ผลักอุดมการณ์ทางการเมืองของทุกฅนออกไปจากพื้นที่ ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องมีพื้นที่กลางไว้เพื่อให้ฅนเหล่านี้สามารถถกเถียงกันได้


ดังนั้นสิ่งที่ผมกำลังคิด คือ เมื่อไรก็ตามที่พื้นที่ทางการเมืองมันเริ่มสุกงอม การพยายามจัดการ หรือ การพยายามควบคุมของรัฐไม่ใช่เป็นการควบคุมฅนที่ผลักเพดานที่สูง หรือ มีพื้นที่การแสดงออกที่มันสูง แต่เป็นวิธีการของรัฐที่จะจัดการอย่างไรเพื่อให้ฅนเหล่านั้นปลอดภัยในการแสดงออก ผมคิดว่าสิ่งนี้สำคัญกว่าการที่จะห้ามฅนแสดงความคิดเห็นทางการเมือง


อย่าลืมว่าวิธีคิด หรือ อุดมการณ์มันเริ่มไต่ระดับสูงขึ้นไปแบบนี้ การจะจัดการวิธีคิด หรือ การจะจัดการความสุกงอมทางความคิดไม่ใช่การจัดการให้สิ้นซาก ไม่ใช่การพูดถึงเพื่อที่จะห้ามเขาอย่างไร แต่ต้องอำนวยพื้นที่อย่างไรให้อยู่ในกรอบที่สามารถทำได้ของทุกฅน


เพราะอย่าลืมว่า ถ้าเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นประชาธิปไตยได้ มันไม่ใช่แค่ฅนที่ออกมาเรียกร้องจะได้ประโยชน์ แต่ทุกฅนจะได้ประโยชน์จากมันไปด้วย ฅนที่เคยเป่านกหวีดกับ กปปส.สมัยก่อนก็จะได้ประโยชน์ ปาตานีก็จะได้ประโยชน์ ภาคอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์


ตัวอย่างเช่น เมื่อสองสามวันก่อนจะมีพลเอกวัลลภ เดิมสายเจอตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนศาสนา เพื่อพูดถึง Peace Process กระบวนการสันติภาพ และมีที่พูดถึงวิธีการปกครองว่าจะเอาแบบไหน ซึ่งหลายฅนก็เสนอ กลุ่มพูโลก็โพสเฟสบุ๊คเสนอ อุสตาสแมของเราก็พูดถึงผ่านโซเชียล


ซึ่งผมคิดว่าข้อเสนอแบบนี้มันเป็นข้อเสนอต่อ Peace process หรือเป็นข้อเสนอต่อการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อพูดถึงการกระจายอำนาจที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ ดังนั้นเมื่อมีการแก้รัฐธรรมนูญที่พูดถึงการกระจายอำนาจด้วย ผมคิดว่าไม่ต้องอาศัยความพิเศษของพื้นที่ตรงนี้ เพื่อให้พื้นที่ตรงนี้ได้เปรียบกับพื้นที่อื่น ผมคิดว่ามันไม่ใช่ ส่วนตัวผมไม่ค่อยอยากจะยอมรับความอุปถัมป์จากทหารเท่าไร ถ้าจะมองว่า ปาตานีพิเศษเพราะมีกองกำลังจับอาวุธสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเขตปกครองพิเศษ


ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศควรได้รับ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ภูเก็ต ก็มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ก็ควรมีการปกครองที่เหมาะกับเขา เราต้องพูดถึงเรื่องการกระจายอำนาจภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญ


ดังนั้น การกำหนดชะตากรรมตนเอง คนปาตานีควรจะได้รับประโยชน์จากมันมากที่สุด ไม่ใช่ได้รับความอุปถัมป์จากทหาร เพราะเป็นพื้นที่พิเศษ”


ชมคลิปเต็ม : https://www.facebook.com/1438146019820331/videos/1012875839173737/