วารสาร SURAT ฉบับ 97 หน้า 6-7 เดือนเมษายน 2023
แปลโดย ชินทาโร่ ฮาร่า
MENGENANG TRAGEDI TAKBAI TAHUN KE-19 MENJADI LUKA DAN DUKA KOMUNITI BANGSA PATANI DI BULAN RAMADHAN
.
วันที่ 11 ของเดือนรอมฎอนเป็นประวัติศาสตร์โศกเศร้าสำหรับประชาชาติมลายูปาตานีตามที่เหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นในเดือนแห่งความประเสริฐต่อพี่น้องมุสลิมปาตานี ในเหตุการณ์ดังกล่าว ดินแดนที่ชาวมลายูสืบทอดมาจากบรรพบุรุษนองเลือดอีกครั้ง ทำให้ประชาชนหลายคนเสียชีวิต
.
และอีกหลาย ๆ คนได้รับบาดเจ็บหรือเป็นพิการตลอดชีวิตด้วย การสังหารหมู่อันโหดร้ายครั้งนั้นได้รับความสนใจและมีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอาเซียน เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และสำนักข่าวชื่อดังต่าง ๆ ก็ยังเก็บรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้เป็นหลักฐานของความโหดเหี้ยมต่อมนุษยชาติในรูปกแบบการสังหารอย่างไร้มนุษยธรรมโดยระบอบอาณานิคมไทย จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีใครแสดงความรับผิดชอบต่อทารุณกรรมครั้งนั้นหรือได้รับบทลงโทษใด ๆ
.
ประชาชนทุกภาคส่วนและคนรุ่นใหม่ตั้งคำถามตลอดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดจากอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ปาตานีว่า ทำไมนักล่าอาณานิคมสยามกระทำอย่างไร้มนุษยธรรมต่อประชาชนในเดือนรอมฎอน แต่ทุกคนรับทราบว่า นักล่าอาณานิคมสยามกระทำโหดร้ายตลอดในประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาติมลายูปาตานีอย่างต่อเนื่องและไม่เคยหยุด
.
ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มหายของ หะยี สุหลง โต๊ะมีนา พร้อมกับเพื่อน ๆ (และลูกชายของท่าน) การสงครามที่ดุซงญอที่มีประชาชนปาตานีหลายคนเป็นเหยื่อ เหตุการณ์การประท้วงปาตานี (ศาลากลางและมัสยิดกลาง) ตั้งแต่ปลาย 2518 ถึงต้นปี 2519 (ทั้งหมด 45 วัน) โดยมีจุดเริ่มต้นเป็นการสังหารประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดหกคนโดยนาวิกโยธิน ณ สะพานกอตอ โศกนาฏกรรมการสังหาร ณ มัสยิดกรือเซะและพื้นที่อื่น ๆ โดยมีชาวมลายูมิสลิมปาตานีทั้งหมด 107 ถูกสังหาร เหตุการณ์ที่ตากใบในเดือนรอมฎอนที่มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 87 คนและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอีกหลาย ๆ คน
.
เหตุการณ์อันโหดเหี้ยมเหล่านี้ต่อประชาชาติมุสลิมปาตานีไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะคนปาตานีเป็นเป้าหมายของการกดขี่ ความไม่เป็นธรรมและการสังหารของนักล่าอาณานิคมไทย เพื่อยึดครองดินแดนปาตานี ดารุสสลาม ความโหดเหี้ยมในดินแดนปาตานีรวมถึงเหตุการณ์ตากใบเป็นการกระทำของนักล่าอาณานิคมไทย
.
แต่รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ ก็ไม่เคยยอมรับหรือตระหนักถึงความผิดหรือความล้มเลวในการปกครองเลย ในทางกลับการ ยังใช้ความมั่นคงและความปลอดภัยเป็นข้ออ้างในการปกครองแบบอาณานิคม นโยบายเหล่านี้ถูกเอามาดำเนินเพื่อทำลายความเข้มแข็งของสังคมชาวมุสลิม เอาผิดสังคมคนมลายูที่ไม่ต้องการที่จะยอมจำนนต่อความต้องการของนักล่าอาณานิคม และกดขี่สังคมที่อ่อนแอและขาดความสามารถที่จะต่อต้านนโยบายเหล่านี้
.
ประชาชาติมลายูปาตานีถูกมองว่าเป็นพวกที่รุนแรงและสุดโต่งที่ยึดมั่นในหลักศาสนาและคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากรุ่นต่อรุ่น สังคมอิสลามมลายูปาตานีได้ปกป้องคุณค่าอันบริสุทธิ์ของอิสลามและวัฒนธรรมของชาติมาอย่างยืนหยัดจนถึงเลือดหยดสุดท้าย
.
เพราะนั่นคือภารกิจที่ได้รับมอบจากประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ วิญญาณของบรรดาวีรบุรุษมลายูก็ยังอยู่ที่มาตุภูมิปาตานี และอิสลามเป็นคุณค่าสูงสุดสำหรับการต่อสู้เพื่อปลดแอกรัฐมลายูปาตานี ส่วนพวกนักล่าอาณานิคมไทยก็ไม่สามารถบังคับให้ประชาชนชาติมลายูปาตานีทำตามความต้องการของพวกเขาได้อีกแล้ว
.
เพราะจิตใจรักชาติของชาวมลายูปาตานีไม่เคยเลือนหายไป และยังพร้อมที่จะสู้ต่อเพื่อประชาชนบนพื้นฐานของศาสนา ชาติและดินแดน โดยมีวิญญาณแห่งการต่อสู้อันยืนหยัด เอกภาพและความสามัคคีเพื่อต่อต้านความโหดเหี้ยมและการกดขี่ที่กำลังเกิดขึ้นบนแผ่นดินปาตานี
.
พวกนักล่าอาณานิคมสยามยังลาดตระเวรบนท้องถนนหลายที่ สร้างค่ายทหารในทุกพื้นที่ เปลี่ยนชื่อของประชาชนเพื่อไม่ให้เห็นความเป็นอิสลาม เปลี่ยนชื่อของหมู่บ้าน อำเภอและจังหวัดเป็นชื่อภาษาไทย และยังเปลี่ยนชื่อของรัฐมลายูอิสลามปาตานีโดยไม่รู้จักความอายอีก
.
นอกจากนี้ พวกเขายังพยายามจะเปลี่ยนอัตลักษณ์ความเป็นมลายูและยึดอำนาจในการปกครองทุกระดับ และพยายามเปลี่ยนทัศนคติของสังคมมลายูมุสลิมให้เป็นพหุนิยม (pluralism) และเสรีนิยม (liberalism) เพื่อทำลายศักดิ์ศรีและสถานะของชาติมลายูอิสลามปาตานีให้เป็นรัฐพวกนอกศาสนา (kafir) ที่บูชาเทวรูปโดยสร้างสถานบูชาทั่วพื้นที่ของชาวอิสลาม ที่น่าเสียดายอีกก็คือ การที่พวกาฟีร ฮัรบี ยังกล้าที่จะออกฟัตวา (การวินิจฉัยทางศาสนา) ต่อการต่อสู้เพื่อปลดแอกปาตานีว่า ไม่มีการญิฮาดในปาตานีและไม่มีชะฮีด (มรณสักขีหรือการเสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ)
.
แต่พวกนักล่าอาณานิคมไทยก็ไม่รู้ว่า ฟัตวาที่ออกมาตามกฎหมายอิสลามนั้นพิจารณาถึงสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ตามยุคสมัย ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็ทำตัวเป็นฉลาดในเรื่องกิจการศาสนาอิสลาม ทั้ง ๆ ที่อิสลามไม่ใช่ศาสนาของพวกเขา ซึ่งจะทำให้ประชาชนชาติปาตานีสับสนและหลงทาง
.
.
หมายเหตุ : แปลจาก วารสาร SURAT ฉบับ 97 เมษายน 2023 โดยชินทาโร่ ฮาร่า ซึ่งทาง The Motive เล็งเห็นถึงประโยชน์จากบทความดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพปาตานีจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ และได้รับอนุญาตการแปลความจากกองบรรณาธิการของวารสาร SURAT ซึ่งเป็นวารสารภาษามลายู (รูมี-ยาวี) ที่เผยแพร่อยู่ในต่างประเทศและพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ในรูปแบบของไฟล์พีดีเอฟ มีลักษณะของการส่งต่อในอีเมลล์ เพื่อสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการเอกราชปาตานีในปัจจุบัน