เรียนรู้กระบวนการลงโทษ จนท.กระทำผิด ผ่านเคส ผกก.โจ้ ซึ่งมีเกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี


ทนายมุสลิมนราธิวาสระบุ การสั่งย้าย หรือ สั่งออกจากราชการ เป็นระเบียบขององค์กร ตร.กรณี จนท.กระทำผิดวินัย แต่ผู้กระทำผิดสามารถโต้แย้งคำสั่งได้ ด้านการฆ่าฅนตายเป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐาน ทนายแจงเพิ่มเติม จนท. หรือ ฅนที่ถูกกล่าวหา มีสิทธิปฎิเสธ หรือไม่ให้การได้ ซึ่งเขาสามารถสู้คดีอย่างเต็มที่ แม้พยานหลักฐานจะหนักแน่นแค่ไหน

อาบีบุสตา ดอเลาะ ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดนราธิวาส ระบุถึงข้อกฎหมายและระเบียบภายในขององค์กรตำรวจ ต่อการฆาตกรรม กรณี ผกก.โจ้ สภ.เมืองนคาสวรรค์ ครอบถุงดำบนศีรษะของผู้ต้องคดียาเสพติดเสียชีวิตว่า “เรื่องการสั่งย้าย หรือ เรื่องให้ออกจากราชการ เป็นเรื่องภายในขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทำผิดตามระเบียบวินัย

ซึ่งการสั่งย้าย หรือ ให้ออกจากราชการก่อนนั้น ไม่ใช่ว่าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งออกมาแล้วจบเลย แต่จะต้องมีการตั้งกรรมการในการสอบข้อเท็จจริงด้วย ทั้งนี้ฝ่ายที่ถูกย้าย หรือ ให้ออกจากราชการยังมีสิทธิโต้แย้งคำสั่ง หรือ อุทธรณ์คำสั่งตามขั้นตอนได้ หลังมีการโต้แย้ง หรือ อุทธรณ์ ก็ต้องไปจบที่ศาลว่า คำสั่งย้าย หรือ ให้ออกจากราชการนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” อาบีบุสตา กล่าว

ด้านการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดนั้น อาบีบุสตา ระบุว่า “เป็นเรื่องของศาลที่จะต้องพิจารณา ไม่ใช่เรื่องของตำรวจ หรือ องค์กรอื่นๆ เพราะตำรวจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น กล่าวคือ เป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้

เมื่อมีเหตุกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ตำรวจก็มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิด รวบรวมพยานหลักฐาน สรุปความเห็นว่า จะสั่งฟ้องหรือไม่ และส่งสำนวนไปให้อัยการพิจารณา

ซึ่งอัยการจะเป็นผู้พิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพออาจมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่ถ้าพยานหลักฐานเพียงพอแล้วอัยการก็จะมีการนำคดีไปฟ้องต่อศาล ถ้าเห็นว่าไม่เพียงพอก็มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องได้

พอคดีถึงศาลก็จะมีการพิจารณาจากศาล มีการสืบพยาน จนศาลมีคำพิพากษา ซึ่งโดยทั่วไปถ้าคดีมีการสู้กันและคดีมีอัตราโทษสูงก็ต้องสู้กันถึง 3 ศาล ไปถึงศาลอุทธรณ์และศาลฏีกา

ซึ่งระหว่างการต่อสู้คดี ไม่ว่าจะเป็นชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ หรือ ชั้นศาล ฅนที่ถูกกล่าวหา กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ และเขามีสิทธิปฎิเสธ มีสิทธิไม่ให้การ มีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ แม้มีพยานหลักฐานหนักแน่นแค่ไหน ถ้าเขาจะสู้คดี ก็ไม่มีใครบังคับให้เขารับสารภาพได้” อาบีบุสตา กล่าว

อาบีบุสตา อธิบายเพิ่มเติมว่า “ส่วนเรื่องคดีฆ่าฅนตาย หลายฅนสอบถามว่าทำไมไม่มีการแจ้งข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรอง” ความเห็นส่วนตัวคิดว่า เคสนี้ไม่ได้มีการวางแผนที่จะทำให้ตายตั้งแต่แรก อาจทำไปเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหายอมอะไรบางอย่าง แต่ไม่ถึงขนาดที่ต้องการให้เขาตาย

แต่บังเอิญปรากฏว่าเขาตาย การแจ้งข้อหา ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จึงถูกต้องแล้ว ในทางกฎหมายแม้จะไม่ได้เจตนาโดยตรง แต่เป็นการกระทำที่เล็งเห็นได้ว่าถ้าทำไปแล้ว ฅนที่ถูกกระทำอาจถึงตาย กฎหมายก็ให้ถือว่าเป็นการเจตนาเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามถ้าสืบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว คดีนี้คิดว่าอาจจะเป็นการกระทำที่เป็นความผิดในข้อหาอื่นๆ อีกหลายข้อหา และอาจมีการแจ้งข้อหาใหม่ก็เป็นไปได้” อาบีบุสตา กล่าว

ซึ่ง The Motive เห็นว่า กรณีการตายของผู้ต้องหาคดียาเสพติดจากการฆาตกรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครสวรรค์ กระบวนการต่างๆ ในการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีพยานหลักฐานเป็นประจักษ์ผ่านคลิปวีดีโอจากกล้องวงจรปิดที่มีบุคคลกลุ่มหนึ่งกำลังนำถุงพลาสติกครอบศรีษะ รวมทั้งทุบตีจนเสียชีวิต

สามารถนำมาเป็นกรณีตัวอย่างที่สามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ถึงกระบวนการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี โดยเฉพาะในคดีความมั่นคงที่มีข่าวลักษณะนี้เป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันอย่างกรณีล่าสุด การเสียชีวิตของเคสอับดุลเลาะห์ อีซอมูซอ ในขณะถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวภายในค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตาน